วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

สอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

1.ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตอบ       ศีลธรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่งามของมนุษย์ทุกๆคนโดยไม่ได้ถูกจำกัดว่าบุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติหรือศาสนาอะไรเป็นเรื่องของมโนธรรมหรือจิตสำนึกที่ดีที่งามที่มนุษย์ทุกๆคนควรจะมี ตัวอย่างเช่น ความยุติธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกตัญญู

                จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผน ความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มุ่งถึงการกระทำภายนอกของมนุษย์ เป็นกฎเกณฑ์ที่บังคับพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา เช่น การที่พบบุคคลอื่นอาจจะมีการทักทายกัน หรือการที่เข้าไปในวัด ในโบสถ์ จะต้องถอดรองเท้า หรือจารีตประเพณีในเรื่องของการแต่งงาน การหมั้น ที่จะต้องไปสู่ขอจากฝ่ายหญิง มีขันหมาก มีสินสอด มีของหมั้นไปให้ฝ่ายหญิง นั่นคือจารีตประเพณี

                กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคมเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคลในสังคมซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติตามเพื่อความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ  และในอีกทางหนึ่ง กฎหมายก็ยังเป็นสัญลักษณ์และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งความยุติธรรม


ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณี
  • กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรืออาชีพใดอาชีพหนึ่ง
  • การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้กระทำจะมีความผิดและถูกลงโทษ แต่การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการติเตียน หรือตำหนิจากสังคมเท่านั้น
  • กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น แต่จารีตประเพณีครอบคลุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด
ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม
  • กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
  • ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์
  • กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบ
  • กฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ แต่ศีลธรรม ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของบุคคลนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี มีหลายประการด้วยกัน แต่กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่จัดระเบียบของสังคมเหมือนกัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข  แต่กฎหมายมีลักษณะแตกต่างจากฎเกณฑ์อื่นอยู่ตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่าสามารถนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่ง คสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง

ตอบ       ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน

มีการจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมาย ดังนี้

·       - รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่ง คสช.
·       - พระราชบัญญัติ
·       - พระราชกำหนด
·       - พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
·       - พระราชกฤษฎีกา
·       - กฎกระทรวง
·       - เทศบัญญัติ


3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้

ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" 

จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้

ตอบ       จากข้อความดังกล่าว ครูทำร้ายเกินกว่าเหตุคือ การใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา เช่น เมื่อครูบางคนโกรธ อารมณ์เสีย หรือไม่พอใจสิ่งใดก็มักมาลงอารมณ์กับเด็กด้วยการทำรุนแรง เช่น ตบ ตี ขว้างปาสิ่งของใส่ ตะคอกเด็กด้วยถ้อยคำ รุนแรงหยาบคาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างบาดแผลในใจเด็กทั้งสิ้น อีกทั้ง อาจส่งผลให้เด็กซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านี้มาจนกลายเป็นคนมีนิสัยเป็นนักเลง ก้าวร้าว  โมโหร้าย เป็นต้น จากข่าวปัญหาคือเด็กอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ ซึ่งเป็นปัญหาปกติในนักเรียนชั้น ป.1 เพราะนักเรียนแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ฉะนั้น ครูควรหาวิธีการสอน หรือรูปแบบการสอนใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมในการอ่านของนักเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่มาใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ในฐานะที่เราเป็นครูของสังคม จึงมีหน้าที่ในการช่วยดูแลช่วยเหลือ อาชีพครูคือเป็นคนสร้างคนให้เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ

 

4. ให้นักศึกษา สวอท. ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร


ตอบ       SWOT ANALYSIS  ตัวเอง

S = STRENGTH หมายถึง จุดแข็ง
W= WEAKNESSหมายถึง จุดอ่อน
O= OPPORTUNITY หมายถึง โอกาส
T= THREATหมายถึง อุปสรรค

1. จุดแข็ง (Strengths)


Ø รู้จักการวางตัวและการเคารพสิทธิผู้อื่น
Ø มีความเป็นเพื่อนให้ทุกคน ไม่เลือกคบเพื่อน

Ø เด็ดเดี่ยว ไม่ท้อแท้

Ø ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน
Ø กล้าแสดงออก
Ø รู้จักกาลเทศะ
Ø เรียนรู้งานได้รวดเร็ว

 

2.จุดอ่อน (Weaknesses)

Ø เฉื่อยชา

Ø ใช้เงินฟุ่มเฟือย

Ø ขี้เกียจ

Ø ใจร้อน

3. โอกาส (Opportunities)

Ø ครอบครัวให้การสนับสนุนในด้านการศึกษาเป็นอย่างดี

Ø มีเพื่อนที่เข้าใจ คอยให้กำลังใจ และคอยช่วยเหลือ

Ø ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากมหาวิทยาลัยและสถานที่ต่างๆ

Ø ได้ทำงานร่วมกับสังคม

4.อุปสรรค (Threats)

Ø เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Ø กิจกรรมบางอย่างของคณะไม่มีประโยชน์และเบียดบังเวลา

 

5.ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย

ตอบ       ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าสำหรับอาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้มีข้อดีหลายประการ เช่น เป็นคนสุขุม นุ่มลึก อาจารย์ใจดี พูดจาไพเราะกับนักศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนที่มีทั้งการเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง และเมื่อมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนหากข้อมูลไม่ครอบคลุมอาจารย์ก็จะคอยอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์และให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเนื้อหานั้นๆ อีกทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีในการส่งงานเพื่อเป็นการฝึกการใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้นให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม ในส่วนของข้อเสียนั้นข้าพเจ้าคิดว่ามันไม่ได้เป็นข้อเสียแต่อยากให้อาจารย์ได้ดูงานที่ส่งไปผ่านบล็อค เพื่อดุว่าที่ส่งไปนั้นคำตอบถูกต้องหรือไม่ จะได้นำไปพัฒนาและปรับปรุงต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น