แบบฝึกหัด คำสั่ง
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.
ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ เมื่อมนุษย์จำนวนมากมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมย่อมมีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิตซึ่งต่างคนย่อมมีความรู้ความคิดเห็นและจิตใจที่แตกต่างกันอาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างกันซึ่งจะทำให้สังคมขาดความเป็นระเบียบเกิดความไม่สงบ
วุ่นวายและเสียหายนำไปสู่ความรู้ล่มสลายของสังคมนั้นในที่สุดจึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างกฎเกณฑ์และกติกาต่างๆขึ้นมาบังคับแก่สมาชิกในสังคมเพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเดียวกัน
และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมไว้ซึ่งจะทำให้สังคมเกิดความสงบสุขขึ้นได้กฎเกณฑ์หรือกติกาดังกล่าวคือกฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายความประพฤติที่กำหนดให้คนในสังคมต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสงบสุขและเรียบร้อยภายในสังคม
โดยมีองค์กรหรือสถาบันที่คอยส่งเสริมแนะนำให้คนปฏิบัติตามกฏหมายและคอยควบคุมมิให้คนในสังคมฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งจะมีการกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนแต่หากสังคมไม่มีกฎหมายก็จะทำให้เกิดความวุ่นวาย
ผู้คนในสังคมไม่มีความเป็นระเบียบก็จะนำไปสู่ความเสียหายและล่มสลายของสังคมในที่สุด
2. ท่านคิดว่า สังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ
ถ้าไม่มีกฎหมายสังคมปัจจุบันก็จะเกิดความขัดแย้งความวุ่นวายโดยคนที่มีโอกาสมากกว่าก็จะเอาเปรียบคนที่มีโอกาสน้อยซึ่งอาจจะเกิดการปล้น
การฆ่า
การทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งสาเหตุนั้นมาจากความไม่พอใจหรือมีการแข่ฃขัน
แย่งชิง
ซึ่งผู้ที่ทำผิดนั้นก็จะไม่ได้รับการลงโทษหรืออาจจะใช้อิทธิพลไปกรมหิงแก่ผู้ที่ไม่มีทางสู้จึงทำให้บ้านเมืองวุ่นวายไม่เป็นระเบียบและเกิดแต่ปัญหาวุ่นวาย
สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
ตอบ กฎหมาย
คือข้อบังคบที่ทุกคนยึดถือและปฏิบัติเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม
ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น
และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมืองผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ
ข.
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. เป็นคาสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคาสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับอันมิใช่คาวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคาแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสาหรับคาสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน
15 วันแจ้งคนตายภายใน
24
ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18
ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจาการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทาตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทาผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชาระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทาหรืองดเว้นกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค.
ที่มาของกฎหมาย
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอานาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี
เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน
หากนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น
การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต
ย่อมไม่ผิดฐานทาร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้
ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้
ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา
ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3. ศาสนา
เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์
ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคาพิพากษา
ซึ่งคาพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง
ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้
อาจนาไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่
จึงทาให้นักนิติศาสตร์
อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
ง. ประเภทของกฎหมาย
ก. กฎหมายภายใน
มีดังนี้
1.
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2.
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสาบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสาบัญญัติ
4. กฎหมายมหาชน
และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน
4.2 กฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก
1.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
ตอบ ทุกประเทศนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมแม่เกิดความวุ่นวายกฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมต่างๆดังนี้
1.กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ
2.กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์
3.กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
4.กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตามก็ย่อมทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนแต่ละประเทศนั้นประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของ
สังคมตามปกติ
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์
เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ
ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย
ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา
ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน
ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง
ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโจทย์
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ
ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง
บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล
ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล
มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้
ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ
โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ
กฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common
law system) และระบบประมวลกฎหมาย
(civil law system) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
อย่างไรก็ดีการแบ่งระบบกฎหมายโดยทั่วไปที่ได้รับการยอมรับกันในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น
4 ระบบ ดังนี้
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา
โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา
ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย
แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก
จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง
และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น
ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น
ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป
โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน
ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน
จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้
ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่
ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้
ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า
ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน
หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี
ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี
ญี่ปุ่น ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น
ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย
ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ
การใช้ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้
lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น
ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน
เป็นต้น
ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)
หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น
ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น
เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา
อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น
สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง
มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย อะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด
อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
1.2
กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18
วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
2.2
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1
กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
3.2
กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
4.1
กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น
ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น
เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
4.2
กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน
การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน
กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ
ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก
ประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศ
9.ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร
มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมายคือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน”
จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า
ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า
กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า
จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
(1)
การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ
เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น
พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
(2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา
และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
(3)
ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้นมีการแบ่ง
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2.พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
3.
พระราชกำหนด
4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. ข้อบัญญัติจังหวัด
8. เทศบัญญัติ
9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม รูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ
แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ
ลงมือทา ร้ายร่างกาย ประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ
การที่รัฐบาลลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนนั้นเป็นสิ่งที่ผิด
เพราะประชาชนก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองโดยการชุมนุมซึ่งประชาชนก็ได้ประกาศแล้วว่าจะทำการประชุมกันอย่างสงบ
การชุมนุมครั้งนี้ก็เป็นการชุมนุมที่สงบเพียงต้องการเรียกร้องสิทธิของตนเอง
ซึ่งในกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ได้ระบุไว้แล้วว่าประชาชนมีสิทธิ ดังนี้
1. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว
ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว
2. สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี
บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
3.
สิทธิในทรัพย์สิน
บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
4. สิทธิในการรับการศึกษาอบรม
บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน
สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
6. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน
สตรี และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมจะได้รับการ
คุ้มครองโดยรัฐ
7. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น
บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความช่วยเหลือ
เป็นต้น
8.
สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะแก่บุคคลในสังคม
9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน
ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
10. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ
ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
12. สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ
รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ
ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงานนั้น
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษาคือ
กฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้
และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
เพื่อให้ครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่าเมื่อท่านไป ประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ ถ้าเราไม่ทราบกฎหมายการศึกษา
เมื่อไปประกอบอาชีพครู ทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ
การจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป
เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้
และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร
สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียน
ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาก็จะทำให้เราไม่รู้ว่ากฎหมายต่างๆมีอะไรบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น